วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเอกลักษณ์เมืองปัตตานี



                                                                           
 เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวนั้นกำเนิดในครอบครัวตระกูลลิ้มสมัยพระเจ้าซึ่งจงฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์เหม็ง ประมาณ พ.ศ. 2065  2109มีพี่ชายชื่อ ลิ้มโต๊ะเคี่ยม รับราชการอยู่มณฑลฮกเกี้ยน เมื่อบิดาถึงแก่กรรมลิ้มกอเหนี่ยว ต้องเฝ้าดูแลมารดาเพียงลำพัง เนื่องจากลิ้มโต๊ะเคี่ยม ถูกขุนนางใส่ร้าย  ว่าสมคบกับโจรสลัดญี่ปุ่น เข้าปล้นตีเมืองตามชายฝั่ง  จึงถูกทางราชการประกาศจับ และได้หลบหนีออกจาก ประเทศจีนกับพรรคพวกไปอาศัยอยู่ที่เกาะไต้หวัน  ต่อมาได้นำสินค้ามาขายที่ประเทศไท  ขึ้นท่าสุดท้ายที่เมืองปัตตานี บ้านกรือเซะ  และมีความรู้เป็นนายช่างผู้หล่อ ปืนใหญ่ 3กระบอก คือ ศรีนครี  มหาลาลอ  และนางพญาตานี  ให้เจ้าเมืองปัตตานี ขณะนั้นเป็นที่พอพระทัยมาก จึงยกพระธิดาให้สมรสด้วยโดยลิ้มโต๊ะเคี่ยมยอมเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม.         
                                                                              
   หลายปีต่อมามารดาซึ่งอยู่ที่ประเทศจีนไม่เห็นบุตรชายกลับมา และไม่ส่งข่าวก็มีความคิดถึงเป็นห่วง ไม่เป็นอันกินอันนอน ลิ้มกอเหนี่ยวสงสารมารดา จึงรับอาสาออกติดตามพี่ชาย โดยออกเดินทางด้วยเรือสำเภาติดตามมาจนถึงประเทศไทย และได้พบพี่ชายที่บ้านกรือเซะลิ้มกอเหนี่ยวได้พำนักอยู่เป็นเวลานาน และชักชวนให้พี่ชายกลับประเทศจีน เพื่อพบมารดาหลายครั้งแต่ลิ้มโต๊ะเคี่ยมปฎิเสธ เนื่องด้วยกำลังเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างมัสยิดกรือเซะ ในขณะนั้น ด้วยความกตัญญต่อมารดา ไม่สามารถนำพี่ชายกลับบ้านได้ จึงได้ทำอัตวินิบาตกรรมที่ใต้ต้นมะม่วงหิมพานต์ ต่อมาฮวงซุ้ยและต้นมะม่วงหิมพานต์  ได้เกิดนิมิตและอภินิหารให้ชาวบ้านไปบนบานหายเจ็บไข้ได้ป่วย มีโชคลาภเป็นที่เคารพสักการะและต่อมาได้นำเอาต้นมะม่วง หิมพานต์มาแกะเป็นองค์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ไว้สักการะมาจนบัดนี้ 

      อยากจะให้ทุกคนมาเที่ยวที่จังหวัดปัตตานี และมาไหว้สักการะเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เพื่อเป็นสิริมงคลกับครอบครัว                               
                                                                                                        http://www.oknation.net

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว


              

                อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียง  ในจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ที่บริเวณตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์จังหวัดปัตตานี ใช้เส้นทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 409 (ปัตตานี-ยะลา) เมื่อถึงบ้านนาประดู่บริเวณ กิโลเมตรที่ 28 จากนั้นเดินทางต่อโดยใช้เส้นทางสายนาประดู่-ทรายขาว เข้าไปอีก 7 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
น้ำตกทรายขาว เดิมเรียกว่า “น้ำตกตะโกน” ซึ่งมีต้นน้ำเกิดจากยอดเขานางจันทร์ในบริเวณทิวเขาทรายขาว เทือกเขาสันกาลาคีรี และถูกค้นพบโดย “พระครูศรีรัตนากร (ท่านสีแก้ว)” ซึ่งเป็นเจ้าเจ้าอาวาสอยู่วัดทรายขาว เมื่อปี 2475 บริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวมีพื้นที่ครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติเขาใหญ่ ในท้องที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี อำเภอเมืองยะลา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา และป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาสันกาลาคีรีในท้องที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา มีจุดเด่นตามธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงาม ซึ่งมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิดที่ควรแก่การศึกษาหาความรู้เป็นอย่างมาก ซึ่งมีเนื้อที่ครอบคลุมประมาณ 68,750 ไร่ หรือกว่า 110 ตารางกิโลเมตร
      ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ สยา กระบาก ยาง กาลอ หลุมพอ ไข่เขียว สะตอ เหรียง ตะเคียนทอง ฯลฯ 

พืชพื้นล่างได้แก่ ระกำหวาย เฟิน เถาวัลย์ และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ สัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมูป่า เลียงผา เก้ง อีเห็น เม่น กระจง ลิง ค่าง ชะนี กระรอก นกขุนทอง นกกางเขน นกปรอด เหยี่ยว นกดุเหว่า ตะพาบน้ำ งูเหลือม งูเห่า งูกะปะตะกวด กบ เขียด กง รวมทั้งกุ้ง ปู และปลาชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในลำห้วยลำธาร
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว มีความ   หลากหลายทางธรรมชาติ และกิจกรรม"ท่องไพร เชิงอนุรักษ์ พิธิตยอดเขาสันกาลาศิริ"ที่รอให้ทุกท่านได้สัมผัส               
              
                                                               

    http://th.wikipedia.org/

    ตูป๊ะ" (ข้าวเหนียวต้ม) อาหารวันฮารีรายอ

              

             ระยะเวลา ๑  เดือนที่เพื่อนพ้องน้องพี่ชาวมุสลิมถือศีลอดในเดือนรอมฎอน เพื่อนพี่น้องมุสลิมก็จะฉลองกันใหญ่โตทุกคนจะกลับมาบ้านเพื่อพบปะพ่อแม่ญาติพี่น้องใน          “วันรายอ” ซึ่งคล้ายๆ กับงานเดือนสิบของคนไทยพุทธ  ก่อนวันรายอเพื่อนพี่น้องชาวมุสลิมจะทำ “ตูป๊ะ” หรือ “ต้มใบกะพ้อ” กัน  ดิฉันในฐานะที่เป็นคนไทยนับถือศาสนาอิสลาม  จึงอยากจะนำเสนอให้ทุกท่านได้รู้จักตูป๊ะ" (ข้าวเหนียวต้ม) อาหารวันฮารีรายอ

    “ตูป๊ะ” จะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมห่อด้วยใบพ้อ        และข้าวเหนียวที่ใช้อาจจะเป็นสีขาวหรือบางบ้านนิยมใช้ข้าวเหนียวสีดำทำก็ได้บางคนอาจจะใส่ถั่วปนลงไปตาม     ความชอบซึ่งรสชาติจะมันๆหวานๆพอดีๆที่เกิดจากน้ำตาลและน้ำกะทิทำเป็นข้าวเหนียวมูนก่อนแล้วจึงห่อใบพ้อไปนึ่งหรือต้มและความหวานมันที่พอดีทำให้ไม่เลี่ยนเมื่อกินพร้อมกับแกงมัสมั่นเนื้อหรือไก่                        
                    ก่อนวันรายอ ๑ วัน เด็กๆ มักจะหยุดเรียนเพื่อช่วยพ่อแม่ทำ “ตูป๊ะ”  เรา มาร่วมกันเรียนรู้การทำ “ตูป๊ะ” กันดีกว่านะค่ะ  ก่อนอื่นเราต้องไปหาใบกระพ้อมา  หลังจากนั้นก็ช่วยกันรีดใบพ้อกันซะก่อน  ส่วนผสมก่อนจะกวนตูป๊ะ  มีดังนี้  สารข้าวเหนียว 5 โล  (ล้างด้วยน้ำสะอาด ตั้งให้สะเด็ดน้ำ )น้ำตาลทราย ¼  หรือ 2/4 โล  มะพร้าว 7 ลูก(คั้นเอาเฉพาะหัวกะทิ) เกลือ 3 ช้อนกินข้าว

            ขั้นตอนและวิธีทำตูป๊ะ  ตั้งกระทะ เทกะทิใส่ลงไป  ตามด้วยเกลือ  เทข้าวเหนียวที่ล้างเตรียมไว้ก่อนหน้านี้แล้วลงในกะทะ  ใช้ไม้พายผัดไปผัดมา อย่าให้ข้าวเหนียวไหม้ติดกระทะ  ก่อนที่ข้าวเหนียวจะแห้ง ใส่น้ำตาล(ถ้าต้องการ)ลงไป  ผัดต่อไปเรื่อยๆจนข้าวเหนียวแห้ง (สังเกตจากข้าวเหนียวจะมีความแวววาวสวยข้าวเหนียวไม่ติดไม้พาย) ยกลงวางไว้ให้เย็นนำ  ตักใส่กะละมังไปแจกให้สมาชิกในบ้านหรือเพื่อนบ้านช่วยกันห่อด้วยใบกระพ้อ  แต่สำหรับ “ดังต้ม” ดิฉันขอจอง  ต่อไปจึงนำไปต้มจะต้องต้มกับกระทะใบบัวแหละถึงจะจุ  นำกระทะตั้งไฟ  หาวัสดุรองก้นกระทะ ก็ใช้ใบกะพ้อที่เหลือๆ นั่นแหละมาตัดเป็นชิ้นๆ รองก้นกระทะ  (หากต้องการให้หอม ก็ตัดใบเตยหอมโยนใส่ตามลงไป)  เรียงตูป๊ะขนาดใหญ่ให้อยู่ด้านล่าง ลูกเล็กอยู่ด้านบน  เติมน้ำให้ท่วมตูป๊ะ  ปิดฝาไม่ให้ความร้อนระเหยออกไป  ต้มกับกระทะมันไม่มีฝา ก็ใช้กะละมังลูกใหญ่ๆ นั่นแหละครอบลงไป  ต้มจนน้ำในกระทะแห้งหมด  ยกลงจากเตา เป็นอันเสร็จเรียบร้อยสักครู่ใหญ่ๆ (ประมาณหลับแล้วฝันไปแล้ว 2 ตลบ)  ตูป๊ะที่ต้มไว้น้ำแห้งสนิท เป็นอันว่า ตูป๊ะสุกแล้วเรียบร้อย

            ดิฉันอยากให้ทุกท่านลองทำตูป๊ะดูนะค่ะ ดูซิว่าใครจะห่อตูป๊ะสวยกว่ากันบรรยากาศการห่อตูป๊ะ        แต่ละคนแบบ “ไร้ขีดจำกัด” จริงๆค่ะ บางคนห่อได้ ทั้งลีบ ทั้งเล็ก ทั้งแบน แต่มีความสุขและภาคภูมิใจในผลงานอันยิ่งใหญ่ของตัวเองไม่น้อย ขอกล่าวคำว่า  “สา                                         ลามัตฮารีรายอ” ค่ะ
                                                                    http://www.oknation.net/
                                                             http://th4.ilovetranslation.com/

    ปัตตานีเลื่องลืองานแข่งขันกีฬาตกปลาสายบุรี


      ปัตตานีเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ติดกับทะเลจีนใต้หรืออ่าวไทย มีพื้นที่ประมาณ ๑,๙๔๐.๓๕๖ ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำที่สำคัญ ๒ สาย คือ แม่น้ำตานี และ แม่น้ำสายบุรี  ในอดีตจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากเคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรลังกาสุกะซึ่งเป็นรัฐอิสระของชาวไทยพุทธในพุทธศตวรรษที่ ๗ มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลา  ปัตตานี  ยะลา  นราธิวาส  รัฐกลันตัน  กับรัฐตรังกานูในมาเลเซีย  ปัจจุบันยังมีซากเมืองเก่าของปัตตานีในยุคนั้นปรากฏให้เห็น  ที่อำเภอยะรังในปัจจุบัน  และจากการที่มีพื้นที่เป็นป่าเขา  และมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเป็นระยะทางยาวประมาณ ๑๗๐ กิโลเมตร จึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางการปกครอง การค้า และวัฒนธรรม มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวหลายด้าน ทั้งด้านธรรมชาติ โบราณสถานทางประวัติศาสตร์   และด้านประเพณีวัฒนธรรม

          เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี  จังหวัดปัตตานี  ด้านทิศตะวันออกติดชายทะเลอ่าวไทยตลอดแนว  ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางน้ำ พื้นที่ใต้น้ำประกอบด้วยทราย  โคลน  เลนปนกัน  อีกทั้งได้มีการจัดสร้างปะการังเทียมให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลมีปลาต่างๆ  เข้ามาอาศัยอยู่มากมาย  เทศบาลตำบลตะลุบัน  จึงได้ร่วมกับองค์กรหน่วยงานต่างๆ จัดแข่งขันกีฬาตกปลาสายบุรีขึ้น เริ่มมาตั้งแต่มี ๒๕๓๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกีฬาตกปลาให้เป็นที่นิยมจนถึงระดับอาเซียน  ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดปัตตานี  ส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างความรักความสามัคคี ระหว่างภาคราชการ และภาคเอกชน
       การแข่งขันกีฬาตกปลาสายบุรีจะจัดทุกวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกที่บริเวณชายหาดวาสุกรี อำเภอสายบุรี  กีฬาตกปลาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย  และจากสภาพภูมิศาสตร์ของหาดที่มีชายฝั่งทะเลยาวเหยียด    อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลานานาชนิด  จึงทำให้กีฬา  ตกปลานี้เป็นกีฬาที่น่าตื่น เต้นท้าทายอีกรูปแบบ
                                            หนึ่ง
    การแข่งขันกีฬาตกปลาสายบุรี  จึงเป็นกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ของจังหวัดปัตตานีอีกกิจกรรมหนึ่งที่อยากจะขอเชิญชวนทุกท่านไปเที่ยว   งานแข่งขันกีฬาตกปลาสายบุรีของเทศบาลตำบลตะลุบันจังหวัดปัตตานี 

    http://www.hoteldirect.in.th/

    ประเพณีแห่นกจังหวัดชายแดนภาคใต้


    ประเพณีแห่นก   เป็นประเพณีพื้นเมืองของจังหวัดชายแดน   ภาคใต้ เช่น ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ซึ่งได้กระทำสืบเนื่องกันมา  เป็นเวลานาน  จัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามโอกาสเพื่อความสนุกรื่นเริงเป็นประเพณีที่แสดงออกเกี่ยวกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในศิลปะ และอาจจัดขึ้นในโอกาสเพื่อเป็นการแสดงคารวะ แสดงความจงรักภักดีแก่ผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ หรือในโอกาสต้อนรับแขกเมือง บางทีอาจจะจัดขึ้นเพื่อความรื่นเริงในพิธีการเข้าสุหนัด หรือที่เรียกว่า มาโซะยาวีหรือจัดขึ้นเพื่อการประกวดเป็นครั้งคราว
              จากตำนานบอกเล่ากล่าวถึงความเป็นมาของประเพณีแห่นกว่าเริ่มที่ยาวอ (ชวา) กล่าวคือ มีเจ้าผู้ครองนครแห่งยาวอพระองค์หนึ่ง มีพระโอรสและพระธิดาหลายพระองค์ พระธิดาองค์สุดท้องทรงเป็นที่รักใคร่ของพระบิดาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับการเอาอกเอาใจ ทั้งจากพระบิดาและข้าราชบริพารต่างพยายามแสวงหาสิ่งของและการละเล่นมาบำเรอ     ในจำนวนสิ่งเหล่านี้มีการจัดทำนกและจัดตกแต่งอย่างสวยงาม แล้วมีขบวนแห่แหนไปรอบๆ ลานพระที่นั่ง เป็นที่พอพระทัยของพระธิดาเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดฯ ให้มีการจัดแห่นกถวายทุก  ๗  วัน
               อีกตำนานหนึ่งว่า ชาวประมงได้นำเหตุมหัศจรรย์ที่ได้พบเห็นมาจากท้องทะเลขณะที่ตระเวนจับปลามา เล่าว่า พวกเขาได้เห็นพญานกตัวหนึ่งสวยงามอย่างมหัศจรรย์ ผุดขึ้นมาจากท้องทะเลแล้วบินทะยานขึ้นสู่อากาศแล้วหายลับไปสู่ท้องฟ้า พระยาเมืองจึงซักถามถึงรูปร่างลักษณะของนกประหลาดตัวนั้น ต่างคนต่างก็รายงานแตกต่างกันตามสายตาของแต่ละคน พระยาเมืองตื่นเต้นและยินดีมาก ลูกชายคนสุดท้องก็รบเร้าจะใคร่ได้ชม พระยาเมืองจึงป่าวประกาศรับสมัครช่างผู้มีฝีมือหลายคนให้ประดิษฐ์รูปนกตามคำ บอกเล่าของชาวประมงซึ่งได้เห็นรูปที่แตกต่างกันนั้น ช่างทั้งหลายประดิษฐ์รูปนกขึ้นรวม ๔ ลักษณะ คือ นกกาเฆาะซูรอ หรือนกกากะสุระ       นกชนิดนี้ตามการสันนิษฐานน่าจะเป็น นกการเวกเป็นนกสวรรค์ที่สวยงามและบินสูงเทียมเมฆ การประดิษฐ์มักจะตกแต่งให้มีหงอนสูงแตกออกเป็นสี่แฉก นกชนิดนี้ชาวพื้นเมืองเรียกว่า นกทูนพลูเพราะบนหัวมีลักษณะคล้ายบายศรีพลูที่ประดับในถาดเวลาเข้าขบวนแห่ ทำเป็นกนกลวดลายสวยงามมาก มักนำไม้ทั้งท่อนมาแกะสลักตานก แล้วประดับด้วยลูกแก้วสี ทำให้กลอกกลิ่งได้ มีงายื่นออกมาจากปากคล้ายงาช้างเล็ก ๆ พอสมกับขนาดของนก  รูปนกลักษณะที่  ๒  นกกรุดาหรือนกครุฑ มีลักษณะคล้ายกับครุฑที่เห็นโดยทั่วไป  รูปนกลักษณะที่ ๓ นกบือเฆาะมาศหรือนกยูงทอง มีลักษณะคล้ายกับนกกาเฆาะซูรอมาก การประดิษฐ์ตกแต่งรูปนกพญายูงทองนั้น ต้องทำกันอย่างประณีตถี่ถ้วน และใช้เวลามาก  และรูปนกลักษณะที่  ๔  นกบุหรงซีงอหรือนกสิงห์ มีรูปร่างคล้ายราชสีห์ ตามคตินกนี้มีหัวเป็นนกแต่ตัวเป็นราชสีห์ ตามนิทานเล่ากันว่ามีฤทธิ์มาก ทั้งเหาะเหินเดินอากาศ     และดำน้ำได้ ปากมีเขี้ยวงาน่าเกรงขาม 
    การประดิษฐ์นกนิยมใช้ไม้เนื้อเหนียว เช่น ไม้ตะเคียน ไม้กายีร นำมาแกะเป็นหัวนก เนื้อไม้เหล่านี้ไม่แข็งไม่เปราะจนเกินไป สะดวกในการแกะของช่าง ทั้งยังทนทานใช้การได้นานปี สำหรับตัวนกจะใช้ไม้ไผ่ผูกเป็นโครง ติดคานหาม แล้วนำกระดาษมาติดรองพื้น ต่อจากนั้นก็ตัดกระดาษสีเป็นขน ประดับส่วนต่าง ๆ สีที่นิยมได้แก่ สีเขียว สีทอง (เกรียบ) สีนอกนั้นจะนำมาใช้ประดับตกแต่งเพื่อให้สีตัดกันแลดูเด่นขึ้น
    ประเพณีการแห่นกนั้นนอกจากที่ให้ความสนุกสนานแล้ว ยังให้คติ ความเชื่อ      ความรัก ความสามัคคี และความเชื่อในการยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้ร่วมพิธีในการปัดเป่า    สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ดังนั้นจึงควรร่วมกันอนุรักษ์ให้ประเพณีแห่นกยังคงอยู่สืบเนื่องต่อไป

    ที่มา       http://www2.pattani.go.th/
    http://www.yru.ac.th

    การแต่งงานแบบอิสลามหรือพิธีนิกะห์



    
    เจ้าบ่าว-เจ้าสาว
    
    ความรู้เรื่องพิธีแต่งงานอิสลามยังมีคนพูดถึงบนโลกออนไลน์ กันน้อยและในปัจจุบันก็มีเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งนับถือศาสนาอื่นมาแต่งงานกันคนอิสลามกันเยอะ ดิฉันจึงอยากจะหยิบยกเรื่องจากขั้นตอนและพิธีแต่งงานอิสลามมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
             การทำพิธีนิกะห์  ไม่จำเป็นต้องมีฤกษ์คือถือฤกษ์สะดวกค่ะ  ซึ่งแตกต่างกับพิธีไทยที่มักจะต้องมีฤกษ์ยามเพื่อเป็นสิริมงคล แต่พิธีนิกะให้ความสำคัญกับพยานและตัวพิธีกรรม พิธีแต่งงานอิสลามจะเริ่มตั้งแต่  วันก่อนวันพิธีหรือเรียกว่าวันสุกดิบ โดยจะมีการจัดเลี้ยงที่บ้านฝ่ายหญิงการจัดพิธีนิกกะห์มักนิยมจัดบ้านฝ่ายหญิง  ในการเตรียมพิธีนิกะห์นั้น พิธีก็จะเริ่มจากการแห่ขันหมากของฝ่ายเจ้าบ่าวตามปกติ โดยพิธีต่างๆ         แขกต่างศาสนาสามารถเข้าร่วมเป็นพยานในพิธีได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนศาสนาอิสลามเท่านั้นจึงจะเข้าร่วมได้ พอขบวนขันหมากมาถึงบ้านเจ้าบ่าวก็จะต้องเข้ามาในที่ประชุม โดยที่ประชุมจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้  คือตัวแทนทำพิธี จะเป็นอิหม่าม หรืออาจารย์ที่เป็นตัวแทนก็ได้เจ้าบ่าวเจ้าสาวพ่อเจ้าสาว หรือตัวแทนของพ่อเจ้าสาว โดยต้องมีการซักซ้อมบทสนทนาในพิธีร่วมกับเจ้าบ่าวมีพยานรับรู้  ซึ่งต้องเป็นคนอิสลาม เป็นชายตั้งแต่  คน ขึ้นไป และเป็นหญิงตั้งแต่  คนขึ้นไป  และนักอ่านกุรอ่านหรืออิสลามที่สามารถอ่านกุลอ่านได้

    ขั้นตอนในพิธีนิกะห์องค์ประชุมครบก็สามารถเริ่มอ่านกุรอ่านได้ฟังคุตบะห์ หรือโอวาทสอนคู่บ่าวสาวจากผู้รู้ อาจจะเป็นคนเดียวกับคนอ่านกุรอ่านหรือเป็นผู้ใหญ่ที่นับถือก็ได้เจ้าบ่าวและพ่อเจ้าสาวหรือตัวแทน (ที่ได้รับการแต่งตั้ง จากอนุตาโตตุลาการมาแทนพ่อ  เพื่อมาเป็นผู้ปกครองหรือ อิหม่าม/ผู้นำศาสนา) จะต้องทำนิกกะห์ โดยจะมีบทสนทนาโต้ตอบกันซึ่งเปรียบเสมือนพิธีมอบลูกสาวให้ฝ่ายชาย ตรงนี้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนวันงานค่ะ สามารถทำเป็นภาษาอาหรับก็ได้หลังจากนั้นก็จะมี การชี้แจงสินสอดที่เรียกว่า มะฮัร ให้ที่ประชุม ที่เป็นพยานรับทราบ จบแล้วก็จะมีการขอดุอา คือการขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าจากผู้รู้เจ้าบ่าวก็ไปรับตัวหรือเชิญเจ้าสาวออกมาได้ ก็จะมีบทสนทนาบ่าวสาวอีกนิดหน่อยเป็นอันจบพิธีค่ะส่วนของงานเลี้ยงแต่งงานนั้น สามารถจัดได้ทุกที่ ได้ทุกแบบตามที่คู่บ่าวสาวต้องการเพียงแต่ห้ามมีแอลกอฮอล์เลยเท่านั้นค่ะ  
           ชาวมุสลิม (ผู้นับถือศาสนาอิสลาม) ถือว่าการแต่งงานหรือเรียกกันตามภาษามุสลิมว่า “พิธีนิกาห หรือ นิกะห์ (Nikah)” เป็นความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความสูงส่งเหนือสัตว์โลกอื่นๆ และเชื่อว่าความผูกพันระหว่างชายหญิงเป็น    
    ความผูกพันกันด้วยชีวิต  เพราะต่างก็เปรียบเหมือนวงกลมที่ถูกแบ่งเป็นสองส่วนและแยกจากกัน แต่อัลลอฮสุบหฯ บันดาลให้มาบรรจบกันจนกลายเป็นวงกลมที่สมบูรณ์
                                                                                                                                                    http://www.2bbride.com/
                                                                                                                                                    http://board.postjung.com/
                                                                   

    วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

    การกวนอาซูรอ



                 กวนอาซูรอ หรือกวนขนมอาซูรอสืบเนื่องจากได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในสมัยนบีนุฮ (อล) ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินไร่นาของประชาชนและสาวกของนบีนุฮ (อล) และคนทั่วไปอดอาหาร นบีนุฮ (อล) จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของเหลือพอจะรับประทานได้ ให้เอามากองรวมกัน และให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน เพื่อให้ทุกคนได้รับประทานอาหารกันโดยทั่วหน้า

                 การกวนอาซูรอ (ขนมอาซูรอ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะทำช่วงเวลา ตรงกับวันที่ ๑๐ เดือนมุฮัรรอม ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีของศาสนาอิสลาม (ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี)  คำว่า อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้รับประทานกัน เจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวขอพร(ดูอา) ก่อน จึงจะแจกให้คนทั่วไปรับประทานกัน

    การกวนอาซูรอเริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ชาวบ้านทราบว่าจะมีการกวนข้าวอาซูรอกันที่ไหน เมื่อใด เมื่อถึงกำหนดนัดหมายชาวบ้านก็จะนำอาหารดิบ เช่น เผือกมัน ฟักทอง มะละกอ กล้วย ข้าวสาร ถั่ว เป็นต้น มารวมเข้าด้วยกันแล้วปอกหั่น ตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จากนั้นนำเครื่องปรุง เช่น ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ เป็นต้น มาเป็นเครื่องผสมโดยหั่นตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เช่นเดียวกัน สำหรับกะทิจะคั้นเฉพาะน้ำมาผสม  วิธีกวน นำกะทะ    ใบใหญ่ตั้งไฟ มีไม้พายสำหรับคนขนมอาซูรอ หลังจากตั้งกะทะบนเตา คั้นน้ำกะทิใส่ลงไป ตำหรือบดเครื่องแกงหยาบๆ ใส่ลงในน้ำกะทิ เมื่อกะทิเดือดใส่อาหารดิบต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว คนด้วยไม้พายจนกระทั่งทุกอย่างเปื่อยยุ่ย กวนต่อไปจนเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อแห้งได้ที่แล้วตักใส่ถาด โรยหน้าด้วยไข่เจียวหั่นบาง ๆ หรืออาจโรยหน้ากุ้ง เนื้อสมัน ปลาสมัน ผักชี หอมหั่นฝอย แล้วแต่รสนิยมของท้องถิ่น แล้วตัดเป็นชิ้น ๆ แจกจ่ายกันรับประทาน
                การกวนอาซูรอจึงเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกประเพณีหนึ่ง  ที่แสดงให้เห็นถึงความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข 

                                                                                                                                                                                                                                                                            http://www.prapayneethai.com/